share

6 นวัตกรรมนำส่งสารสำคัญช่วยเพิ่มจุดขายในสกินแคร์ (Active Delivery Systems)

Last updated: 24 Jun 2024
134 Views
6 นวัตกรรมนำส่งสารสำคัญช่วยเพิ่มจุดขายในสกินแคร์ (Active Delivery Systems)

     ทุกวันนี้ไม่ว่าจะแบรนด์สกินแคร์ไหนๆ ก็ล้วนหาจุดขายที่แตกต่างจากที่อื่นๆ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ TNP ขอแนะนำนวัตกรรมนำส่งสารสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสกินแคร์และยังสร้างจุดขายที่น่าสนใจได้อีกด้วย

ระบบนำส่ง (Delivery System) คือนวัตกรรมที่ช่วยให้การนำสารสำคัญตรงเข้าสู่ผิวได้อย่างแม่นยำ พร้อมค่อยๆ ปลดปล่อยสารสำคัญที่ถูกห้อหุ้มออกมาจึงไม่เกิดการระคายเคืองผิวหรือเกิดน้อยมาก และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารสำคัญได้อีกด้วย สารสำคัญตัวอย่างเช่น สารสกัดจากธรรมชาติ สารที่ซึมเข้าสู่ผิวได้ยาก สารที่เสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อเจอแสง และสารกันแดด เป็นต้น ระบบนำส่งสาร ได้แก่

  • ลิโปโซม(Liposomes)
  • นีโอโซม (Niosomes)
  • ไฟโตโซม (Phytosomes)
  • ทรานสเฟอโซม (Transfersomes)
  • เอทโทโซม (Ethosomes)
  • เดนไดรเมอร์ (Dendrimers)

ข้อดีของระบบนำส่ง

  • มีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงต่ำ
  • เสริมประสิทธิภาพสารสำคัญ
  • เพิ่มความสามารถในการซึมเข้าสู่ผิวได้มากขึ้น
  • เพิ่มความคงตัวให้แก่สารที่ถูกกักเก็บในระบบ
  • สามารถควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญได้
  • สามารถปกป้องสารสำคัญจากการสลายตัวด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมี

     คือ อนุภาคขนาดเล็กของสารไขมันที่เรียงซ้อนกันสองชั้นสลับกับชั้นของน้ำ มีลักษณะเป็นถุงกลมๆ เนื่องจาก ลิโปโซมมีส่วนประกอบและคุณสมบัติคล้ายคลึงกับเยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิต จึงถูกพัฒนามาใช้ในการนำพาสารต่างๆ เช่น ยา เครื่องสำอางเพื่อเข้าสู่ร่างกาย

  • ในภาษากรีก Lipo หมายถึง Fat และ Somes หมายถึง Body
  • ลิโปโซมถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ ปี 1961 โดย Alec D. Bangham
  • อนุภาคประกอบด้วย ฟอสโฟลิปิด (Phospholipids) และคลอเรสเตอรอล (Cholesterol)
  • ขนาดของลิโปโซมมีตั้งแต่ 20 นาโนเมตรไปจนถึงหลายไมโครเมตร

ขนาดของลิโปโซม

  • Multi Lamellar Vesicles (MLV) มีขนาดมากกว่า 0.5 ไมโครเมตร
  • Oligo Lamellar Vesicles (OLV) มีขนาด 0.1 - 1 ไมโครเมตร
  • Multivesicular Vesicles (MV) มีขนาดมากกว่า 1 ไมโครเมตร
  • Unilamellar Vesicles (UV) แบ่งออกเป็น 
    - Medium Unilamellar Vesicles (MUV) 
    - Small Unilamellar Vesicles (SUV) มีขนาด 20 - 100 นาโนเมตร
    - Giant Unilamellar Vesicles (GUV) มีขนาดมากกว่า 1 ไมโครเมตร
    - Large Unilamellar Vesicles (LUV) มีขนาดมากกว่า 100 นาโนเมตร

ข้อดีของลิโปโซม

  • นำส่งสารสำคัญสู่เป้าหมายได้ดี
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • เพิ่มความคงตัว
  • ลดความเป็นพิษจากการสัมผัสสารสำคัญโดยตรง
  • ลดผลข้างเคียง
  • ระบบสามารถกักเก็บสารได้ทั้งโมเลกุลเล็กและใหญ่
  • ระบบสามารถกักเก็บสารสำคัญที่มีคุณสมบัติทั้งละลายในน้ำได้ดีและละลายในไขมันได้ดี

     มีลักษณะเป็นถุงทรงกลมขนาดเล็ก คล้ายกระเปาะที่เก็บกักสารต่างๆ ไว้ภายในอนุภาคเหล่านี้ มีลักษณะโครงสร้างของผนังเซลล์เป็นผนังสองชั้น ซึ่งเกิดจากการจัดเรียงตัวเองของโมเลกุลสารลดแรงตึงผิวที่มีคุณสมบัติมีขั้วและไม่มีขั้วอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน ทำให้เกิดการจัดเรียงตัวโดยนำส่วนที่มีคุณสมบัติเหมือนกันเข้าหากันและมีการซ้อนกันเป็นผนังอาจเรียงตัวเป็นชั้นเดียวหรืออาจเกิดได้มากกว่าหนึ่งชั้น

  • นีโอโซมถูกคิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดย L'Oreal สำหรับการใช้งานด้านเครื่องสำอาง เปิดตัวสู่ตลาดเมื่อปี 1987
  • นีโอโซมมีความสามารถในการซึมผ่านได้ลึกกว่าและมีความเสถียรมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับลิโปโซม
  • นีโอโซมที่ไม่มีประจุทำให้เกิดการระคายเคืองได้น้อย

ขนาดของนีโอโซม

  • Multi Lamellar Vesicles (MLV) มีขนาด 100 - 1000 นาโนเมตร
  • Small Unilamellar Vesicles (SUV) มีขนาด 10 - 100 นาโนเมตร
  • Large Unilamellar Vesicles (LUV) มีขนาด 100 - 250 นาโนเมตร

ข้อดีของนีโอโซม

  • สามารถกักเก็บสารปริมาณมากๆ ได้ในปริมาตรน้อย
  • ระบบสามารถกักเก็บสารสำคัญที่มีคุณสมบัติทั้งละลายในน้ำได้ดี ละลายในไขมันได้ดี และสารที่เป็นกึ่งกลาง
  • มีความคงตัวและเก็บง่าย
  • ปรับปรุงการซึมผ่านผิวหนังของสารออกฤทธิ์
  • เพิ่มความเสถียรของสารออกฤทธิ์
  • ไม่ระคายเคือง
  • เป็นที่ยอมรับของตลาดเครื่องสำอาง

     Phytosomes เรียกอีกอย่างว่า Herbosomes คำว่า "Phyto" หมายถึง พืช ดังนั้นไฟโตโซมจึงหมายถึง ถุงหุ้มสารสำคัญจากพืช โดยสารสำคัญจะถูกล้อมรอบด้วยลิปิด ซึ่งสร้างพันธะไฮโดรเจนกับฟอสฟาทิดิลโคลีน สามารถถูกกักเก็บได้ในส่วนแกนกลางและส่วนที่เชื่อมต่อกับส่วนของฟอสเฟต

  • ไฟโตโซมชนิดแรกได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Indena ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการดูดซึมของยา
  • ห้อหุ้มสารสำคัญที่ได้จากสมุนไพรโดยใช้นาโนเทคโนโลยีในการช่วย เนื่องจากร่างกายดูดซึมโดยตรงได้ยาก
  • ขนาดของไฟโตโซมประมาณ 200 - 250 นาโนเมตร

ข้อดีของไฟโตโซม

  • ใช้สารสำคัญในปริมาณน้อยลงเนื่องจากเพิ่มการนำส่งได้มากขึ้นมีความคงตัวสูง 
    เพิ่มการซึมผ่านผิวหนังได้ดีเมื่อใช้ในทางเครื่องสำอาง
  • ปลดปล่อยสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสมไปยังเซลล์เป้าหมาย
  • ไฟโตโซมยังเหนือกว่าไลโปโซมในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอีกด้วย

    เป็นระบบนำส่งชนิดที่นิยมใช้กับการนำส่งสารสำคัญแบบเฉพาะที่ เช่น บริเวณผิวหนัง เนื่องจาก มีความสามารถในการบีบตัวผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ได้กับสารทั้งโมเลกุลใหญ่และเล็ก โดยความสามารถเหล่านี้มาจากองค์ประกอบของทรานสเฟอร์โซม ที่ประกอบด้วยฟอสโฟลิปิดและสารลดแรงตึงผิวแบบสายเดี่ยวในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ระบบนำส่งชนิดนี้มีความสามารถในการยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้

  • ทรานสเฟอร์โซมถูกนำมาใช้ในช่วงต้นปี 1990
  • ทรานสเฟอร์โซมประกอบด้วยคุณสมบัติที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ
  • มีประสิทธิภาพการซึมผ่านสูงกว่าลิโปโซม
  • ซึมผ่านรูขุมขนที่มีขนาดเล็กกว่าได้ด้วยการบิดตัวเปลี่ยนรูปร่างเข้าไป ซึ่งทำให้การซึมผ่านของผิวหนังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ไม่เสถียรทางเคมีเนื่องจากมีแนวโน้มที่จะถูกสลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน

ข้อดีของทรานสเฟอร์โซม

  • สามารถกักเก็บสารสำคัญที่ละลายในไขมันได้ดีสูงถึง 90%
  • เพิ่มการดูดซึมและซึมผ่านได้ดีกว่าระบบนำส่งอื่น
  • สามารถใช้ได้กับสารสำคัญที่มีมวลโมเลกุลสูง
  • ระบบมีอัตราการปลดปล่อยสารสำคัญช้า
  • สามารถป้องกันการสลายตัวของสารสำคัญในระบบเมแทบอลิซึมได้
  • ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
  • ลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของสารออกฤทธิ์ให้น้อยที่สุด

     คือ ระบบนำส่งสารเข้าสู่ผิวหนังแบบอนุภาคหรือถุงทรงกลมที่มีความอ่อนตัว ยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงไปตามเส้นทางที่เคลื่อนที่ผ่าน ประกอบขึ้นจากสารไขมัน ประเภทฟอสโฟไลปิด เอธานอลที่มีความเข้มข้นสูง และน้ำ เอทโทโชมเป็นไลโปโซมที่มีส่วนประกอบของเอธานอลในปริมาณสูง (20-45% โดยน้ำหนัก) เป็นอนุภาคที่มีลักษณะอ่อนและยืดหยุ่น เป็นระบบนำส่งสารหรือยาผ่านผิวหนังที่สามารถแทรกผ่านผิวหนังลงไปในชั้นที่ลึกได้ และอาจนำส่งถึงระบบไหลเวียนโลหิตเพื่อให้ฤทธิ์ทั่วร่างกาย

  • สารสำคัญที่ควรใช้ระบบการนำส่งเอทโทโซม เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านริ้วรอย สารต้านเซลลูไลท์ กรดซาลิไซลิก และเรตินอยด์ เพื่อปรับเพิ่มประสิทธิภาพและนำส่งได้ถึงผิวชั้นลึก
  • สามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงไปตามเส้นทางที่เคลื่อนที่ผ่านได้และสามารถปรับขนาดได้ตั้งแต่ 10 นาโนเมตรถึง 1 ไมโครเมตร
  • เสถียรกว่าไลโปโซมมากเนื่องจากมีเอทานอลอยู่
  • มีองค์ประกอบทั้งส่วนที่เป็น Lipophilic และ Hydrophilic ทำให้สามารถนำส่งสารที่มีความชอบน้ำและสารที่มีความชอบไขมันได้ดี
  • เอทโทโซม นี้แบ่งได้เป็น Classical Ethosomes,Binary Ethosomes และ Transethosomes 

ข้อดีของเอทโทโซม

  • เพิ่มการนำส่งสารออกฤทธิ์ผ่านผิวหนัง
  • สามารถนำส่งสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ได้ เช่น peptides และ protein
  • มีความปลอดภัยในการนำมาใช้ในทางยาและเครื่องสำอาง ลดการใช้สารลดแรงตึงผิวที่เป็นอันตราย
  • ไม่สร้างความเจ็บปวดหรือบาดเจ็บต่อร่างกาย และลดความเป็นพิษที่เกิดจากการสัมผัสสารโดยตรง

     เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีลักษณะโครงสร้างพอลิเมอร์ที่เหมือน ต้นไม้โดยพันธะที่มีทั้งหมดจะต่อกิ่งก้านสาขาของโมเลกุลเป็นรัศมีออกจากจุดหรือแกน ที่เป็นศูนย์กลางในลักษณะโครงสร้างที่ซ้ำกัน และมีขนาดเดียวกัน เดนไดรเมอร์มีลักษณะทรงกรมสามมิติ ซึ่งมีความเสถียรสูง

ลักษณะโครงสร้างของเดนไดรเมอร์ประกอบด้วย 3 ส่วน

1.แกนกลาง 
2. ชั้นใน ซึ่งมีลักษณะของโครงสร้างที่มีกิ่งก้านแผ่เป็นรัศมีโดยติดกับแกนกลาง
3. ชั้นนอก ซึ่งมีลักษณะของโครงสร้างกิ่งก้านที่แผ่ออกไปจากชั้นด้านใน ขนาด รูปร่าง และความไวในการทำปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นและส่วนประกอบทางเคมีของแกนกลาง กิ่งก้านโมเลกุลชั้นใน และกลุ่มโมเลกุลพื้นผิว เดนไดรเมอร์ประกอบด้วยโครงสร้างเคมีที่ซ้ำกัน ซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้หลายขนาดในระดับโมกุลไปจนถึงระดับนาโน

ข้อดีของเดนไดรเมอร์

  • สามารถควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญได้ดี
  • ใช้ได้ดีกับการนำส่งสารสำคัญเข้าผิวหนังแต่ไม่เข้าสู่ระบบเลือด
  • ระบบสามารถกักเก็บสารสำคัญได้มาก
  • ระบบสามารถปกป้องสารสำคัญจากการสลายตัวด้วยกระบวนการทางเคมีได้ดี

6 นวัตกรรมที่มีจุดเด่นจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณดูน่าสนใจและทันสมัย ที่ TNP ยังมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีอีกหลายอย่างที่จะช่วยให้คุณทำการตลาดได้อย่างงาย สนใจสร้างแบรนด์ติดต่อเราสิคะ ปรึกษาฟรีค่ะ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ดร. ภก. นพวัฒน์ เพ็งคำศรี, "ระบบนำส่งสารต้านอนุมูลอิสระจากสมุนไพร", สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย) 
บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.24 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน การทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation)
การที่จะออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูตรใหม่นั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีการทดสอบมากมาย และหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบทางประสาทสัมผัส เป็นเสมือนการทดลองใช้ก่อนวางขายจริง
6 Aug 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.27 การจดแจ้งชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (FDA Registration)
ชื่อเครื่องสำอางที่แปลกใหม่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ตัวผลิตภัณฑ์ แต่การจะตั้งชื่อได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายให้ถูกต้อง
25 Jun 2024
11 Ingredients ที่เป็นประเด็นกับความยั่งยืน
ด้วยสภาวะโลกที่ร้อนมากขึ้นและทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกอย่างจำกัด ทำให้เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะยืนหยัดเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เปลี่ยนส่วนผสมเครื่องสำอางที่ไม่ยั่งยืนให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้ใช้
25 Jun 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ