ญี่ปุ่นดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัยมีขนาดของตลาดเครื่องสำอางและคอสเมติกที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ด้วยความยิ่งใหญ่นี้ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้นำวงการความงามระดับโลก มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลากหลายระดับสำหรับผู้บริโภคตั้งแต่สินค้าทั่วไปจนถึงไฮเอนด์ ในตลาดญี่ปุ่นสินค้าเครื่องสำอางที่ค่อนข้างไฮเอนด์จะเรียกว่า "เครื่องสำอาง" ส่วนสินค้าเครื่องสำอางที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเรียกว่า "คอสเมติก" นอกจากนี้ ตลาดสินค้าเครื่องสำอางจะแยกตามระดับราคาคือ สูง กลาง และต่ำ โดยกลุ่มที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด คือ สินค้าระดับราคาปานกลาง 37% รองลงมาคือระดับราคาสูง 33% และระดับราคาต่ำ 22% ที่เหลือเป็นเครื่องสำอางสำหรับใช้ในธุรกิจ (เช่น ร้านทำผม ร้านบริการแต่งหน้า ฯลฯ) 8% ซึ่งส่วนแบ่งตลาด 40% เป็นของบริษัทขนาดใหญ่ 5 บริษัท ได้แก่ Shiseido Group, Kao Group, Kose Group, P&G และ Pola Orbis ที่เหลืออีก 60% เป็นของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมประมาณ 3,000 แห่ง
ในญี่ปุ่นมีการจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์ออกเป็น 4 ประเภท คือ ยา เวชสำอาง (Quasi Drug) เครื่องสำอาง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเล็กน้อยต่อร่างกายมนุษย์ และใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการดูแล ปกป้องผิวหนัง ผม เล็บ หรือเพื่อทำสี หรือให้กลิ่นหอม ส่วนเวชสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเล็กน้อยต่อร่างกายมนุษย์และไม่ใช่เครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องสำอางที่มีฤทธิ์เป็นยา ยาปลูกผม ยาย้อมผม น้ำยาดัดผม น้ำยาอาบน้ำ น้ำยาระงับกลิ่นปาก น้ำยาระงับกลิ่น แป้งที่ช่วยลดผดผื่น ครีมกำจัดขน เป็นต้น
ปัจจุบันระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้มี JTEPA (ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น) และ AJCEP (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่อาเซียน-ญี่ปุ่น) ทำให้ไทยไม่จำเป็นต้องเสียภาษีศุลกากรเมื่อนำเข้ามาประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น เมื่อมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไปญี่ปุ่นจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของทางญี่ปุ่น ผู้ส่งออกจะต้องมีการขออนุญาตการผลิตและขายเครื่องสำอาง ตรวจดูส่วนผสมที่ไม่ควรใช้และและส่วนผสมที่สามารถใช้ได้แต่มีข้อจำกัดในการใช้อย่างละเอียด ฉลากเครื่องสำอางต้องเป็นไปตามกฎหมายญี่ปุ่นและต้องแสดงเป็นภาษาญี่ปุ่น ห้ามโฆษณาเกินความจริง และมีการรายงานเมื่อสังเกตพบผลข้างเคียงจากการใช้สินค้า ด้วยข้อกำหนดที่มากมายของญี่ปุ่น ทำให้สินค้าเครื่องสำอางที่ขายในญี่ปุ่นมีมาตรฐานที่สูงและมีประสิทธิภาพที่ดีถึงแม้จะมีราคาที่แพง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเองก็ให้ความสำคัญอย่างมากกับการเลือกใช้สินค้าเครื่องสำอางดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสินค้าที่ราคาระดับกลางถึงสูงได้รับความนิยมมากถึง 70%
Did you know รู้หรือไม่?
เวชสำอางที่เป็น cosmeceutical (pharmaceutical + cosmetic) ในไทยเป็นคำที่ไม่มีนิยามตามกฎหมาย แต่เข้าใจได้ว่าคือผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและยาไว้ด้วยกัน ซึ่งญี่ปุ่นเองก็หลีกเลี่ยงและใช้คำว่า quasi drug แทน ในปี 2566 ไทยได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาคือ "เวชสำอางสมุนไพร" เป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุช่องปาก เพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพหรือการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น เสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้อยู่ในสภาพดี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร ไม่จัดว่าเป็นเครื่องสำอาง
ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังมาโดยตลอดและที่เป็นแบบนี้เพราะว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้วางนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างเป็นรูปธรรม โดยญี่ปุ่นได้ประกาศเป้าหมายที่ชัดเจนในการยกระดับประเทศให้มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นศูนย์ ในปี 2593 และมีการประกาศว่าจะมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ถึง 50% ภายในปี 2573 จึงทำให้ญี่ปุ่นเร่งเข้าสู่กระบวนการการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เป็นศูนย์แล้วก็เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทางรัฐบาลญี่ปุ่นเองจึงได้กำหนดทิศทางยุทธศาสตร์ระยะยาว เช่น นโยบาย Green Growth Strategy พื้นฐานด้านพลังงาน และมาตรการป้องกันภาวะโลกร้อนตามข้อตกลงของกรุงปารีส
การที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแบบนี้ทำให้มีผลต่อการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก หลาย ๆอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นมีการปรับตัวตามนโยบายของรัฐบาล เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกมีการลดใช้พลาสติกที่ทำจากปิโตรเลียมแล้วหันมาใช้ bio-plastic ทดแทน ทุกอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนของญี่ปุ่นก็พยายามปรับตัวและหาวิธีที่จะผลิตสินค้าโดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งกระบวนการผลิต การเลือกวัตถุดิบ รวมถึงการใช้สินค้าให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่ปรับตัวเป็น green cosmetics ผลิตเครื่องสำอางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการตั้งแต่วัตถุดิบในการผลิตไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ ชาวญี่ปุ่นเองก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หันมาใช้เครื่องสำอางออร์แกนิค ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยในการลดคาร์บอน เพราะว่าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีที่ก่อให้เกิดไนโตรเจน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสาเหตุของปรากฎการณ์เรือนกระจก ทำให้ตลาดออร์แกนิคของญี่ปุ่นมีการเติบโตอย่างมากและในอนาคตจะยังคงมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับรัฐบาล
เครื่องสำอางไทยเองก็เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นเช่นกัน จากกระแสซีรีส์วายที่โด่งดังในญี่ปุ่นส่งผลให้วัยรุ่นญี่ปุ่นให้ความสนใจกับเครื่องสำอางไทยมากขึ้น ทั้งบรรจุภัณฑ์ที่น่ารัก ดึงดูดตา ราคาย่อมเยา มีเครื่องสําอางทําจากวัตถุดิบธรรมชาติหรือออร์แกนิคมาก มีกลิ่นหอม ตอบโจทย์เรื่องปัญหาผิวได้ดี มีสกินแคร์ cruelty-free มาก และนวัตกรรมที่ใช้ในการผลิตมีส่วนที่ดึงดูดความสนใจในผู้บริโภคได้มาก ดังนั้น การผลิตเครื่องสำอางส่งออกไปญี่ปุ่นเชื่อว่าเครื่องสำอางไทยสู้ได้แน่นอน สิ่งที่ต้องใส่ใจจึงเป็นเรื่องของกฎหมายเครื่องสำอางของญี่ปุ่น โดยเครื่องสำอางญุี่ปุ่นจะอยู่ภายใต้กฎหมายยาและอุปกรณ์การแพทย์ของญี่ปุ่น
จากกฎหมายยาและอุปกรณ์การแพทย์ของญี่ปุ่น การกล่าวอ้างถึงประสิทธิผลของเครื่องสำอางมีการกำหนดไว้ทั้งสิ้น 3 ประการ
1. ญี่ปุ่นได้กำหนดประโยคที่ใช้ในการโฆษณาเครื่องสำอางไว้ 56 ประโยค
3. ความรู้สึกจากการใช้งานจริง
สามารถใช้ความรู้สึกจากการใช้งาน หากอยู่ในขอบเขตความจริงได้ เช่น ให้ความรู้สึกสดชื่น รู้สึกเย็นสบาย ฯลฯ
ถึงแม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำในวงการความงามแต่ยังไม่มีมาตรฐานเครื่องสำอางออร์แกนิกตามกฏหมาย มีเป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยเครื่องสำอางออร์แกนิกญี่ปุ่นที่เป็นองค์กรอิสระ ตรงจุดนี้จึงเป็นโอกาสให้เครื่องสำอางไทยได้ไปทำตลาดที่ญี่ปุ่นได้ สนใจสร้างแบรนด์เครื่องสำอางส่งออกญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย ปรึกษาทีเอ็นพีได้เลย!
ที่มา
สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว