ในฉลากเครื่องสำอาง ปริมาณสุทธิหรือน้ำหนักสุทธิที่สังเกตเห็นได้บ่อย ๆ จะเป็นหน่วย g คือ กรัม หรือ ml คือ มิลลิลิตร แต่นอกจาก 2 หน่วยนี้แล้วยังมีรูปแบบอื่นอีกด้วย ซึ่งก็คือ oz และ fl oz อาจจะดูแล้วคุ้นตาแต่ก็ไม่รู้ว่าหมายความว่าอย่างไร
วันนี้ TNP จะพาไปทำความรู้จักหน่วยนี้บนฉลากเครื่องสำอาง ไขข้อสงสัยว่าคืออะไรแล้วมีความสำคัญอย่างไร!?
oz และ fl oz เป็นหน่วยวัดแบบดั้งเดิมที่ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน มีที่มาจาก 2 ระบบ ดังนี้
1. Imperial System
Imperial System เรียกอีกอย่างว่า British Imperial System เป็นระบบหน่วยวัดแบบดั้งเดิม ตั้งแต่ยุคกลางปี 1824 จนปี 1965 จึงเริ่มเปลี่ยนมาใช้การวัดระบบเมตริก (metric system) แทน ซึ่งหน่วยวัดในระบบอิมพีเรียล ได้แก่ แกลลอน ควอร์ต ไพน์ ถ้วย ออนซ์ ออนซ์ของเหลว ปอนด์ และตัน
2. United States Customary System
เป็นหน่วยวัดของสหรัฐอเมริกา โดยปรับมาจากหน่วยวัด Imperial System อีกที ไม่นับเป็นหน่วยวัดสากลที่ใช้กันโดยทั่วไป แต่ก็มีความสำคัญ โดยแบ่งหน่วยวัดปริมาตรเหมือนระบบอิมพีเรียล ได้แก่ แกลลอน ควอร์ต ไพน์ ถ้วย ออนซ์ ออนซ์ของเหลว ปอนด์ และตัน
หน่วย oz และ fl oz มีเงื่อนไขการใช้ที่แตกต่างกัน โดย fl oz จะมีความซับซ้อนกว่า ดังนี้
oz ย่อมาจาก ounce หรือ ออนซ์
ออนซ์ (ounce) เป็นหน่วยของน้ำหนัก (weight) ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ของเหลว เช่น ของแข็งและของกึ่งแข็งที่ไม่สามารถเทได้ง่าย ในเครื่องสำอางก็จะมีผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ใช้หน่วยออนซ์ เช่น สบู่ สครับเกลือ บาธบอม แป้งอัดแข็ง เป็นต้น ใช้ร่วมกับหน่วย g กรัม (gram)
โดยออนซ์จากทั้ง 2 ระบบ Imperial System และ United States Customary System
จะมีน้ำหนักเท่ากัน คือ 1 oz เท่ากับ 28.3495 grams
fl oz ย่อมาจาก fluid ounce หรือ ฟลูอิดออนซ์
ฟลูอิดออนซ์ หรือ ออนซ์ของเหลว เป็นหน่วยของปริมาตรของเหลว (fluid) ที่อยู่ในภาชนะ เช่น น้ำ เครื่องดื่ม หรือเครื่องสำอางที่มีลักษณะเหลว ได้แก่ เซรั่ม โลชั่น โทนเนอร์ เอสเซนส์ และคลีนเซอร์ เป็นต้น ซึ่งปริมาตรของออนซ์ของเหลวทั้ง 2 ระบบข้างต้นนั้นไม่เท่ากัน แม้ว่าจะใช้ชื่อหน่วยเหมือนกัน โดย fl oz ของ U.S. Customary System มีปริมาตรมากกว่าของ Imperial System อยู่ 4%
ตัวอย่างการคำนวน
โฟมล้างหน้าขนาด 50 ml
Imperial System
50 / 28.413 = 1.75 fl oz หรือเขียนอีกแบบคือ 1.75 imp fl oz
U.S. Customary System
50 / 29.574 = 1.69 fl oz หรือเขียนอีกแบบคือ 1.69. Imp fl oz
ในประเทศไทยสินค้าที่ผลิตใช้ภายในประเทศ หรือส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา จะใช้หน่วยวัดแบบ U.S. Customary System ซึ่งหากจำหน่ายสินค้าในไทยการเขียนหน่วยวัดนี้จะใส่ลงในฉลากหรือไม่ใส่ก็ได้ เนื่องจากกฎหมายเครื่องสำอางไม่ได้มีการบังคับ แต่หากใส่ลงไปในฉลากก็จะทำให้สินค้าดูมีความสากลขึ้นมา ลูกค้าต่างชาติเข้าใจได้ง่าย
น้ำหนักสุทธิ oz
น้ำหนักสุทธิ หรือ net weight หรือ net wt. คือข้อความที่บอกน้ำหนัก แสดงปริมาณเป็น หน่วยน้ำหนัก แสดงเฉพาะปริมาณจริงของผลิตภัณฑ์ ไม่รวมบรรจุภัณฑ์และวัสดุอื่น ๆ โดยจะเขียนออนซ์แบบเดี่ยว ๆ หรือ เขียนคู่กับหน่วยเมตริก (g) ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
น้ำหนักสุทธิ + ตัวเลขแสดงปริมาณสินค้า
net weight 100 g = (3.5 oz)
net weight 3.5 oz = (100 g)
net wt 3.5 oz
net wt 100 g (3.5 oz)
net wt 3.5 oz (100 g)
ปริมาณสุทธิ fl oz
ปริมาณสุทธิ หรือ net contents หรือ net หรือจะเขียนแค่ปริมาณที่เป็นตัวเลขอย่างเดียวเท่านั้นก็ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นข้อความที่บอกปริมาณของเหลวที่อยู่ในภาชนะ แสดงปริมาณเป็น หน่วยปริมาตร สามารถเขียนคู่กับปริมาณของมิลลิลิตร (ml) ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
ปริมาณสุทธิ + ตัวเลขแสดงปริมาณสินค้า หรือ แสดงเพียงปริมาณสินค้าอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน
net contents 0.5 fl oz
net 0.5 fl oz
0.5 fl oz
15 ml
0.5 fl oz (15 ml)
ถึงตรงนี้คงจะเข้าใจและแยกความแตกต่างระหว่าง oz และ fl oz กันได้แล้วนะคะ oz ใช้กับเครื่องสำอางที่เป็นของแข็งหรือกึ่งแข็ง ไหลไม่ได้ ส่วน fl oz ใช้กับเครื่องสำอางที่เป็นของเหลวไหลได้เท่านั้น และปริมาณที่นิยมใช้คือ U.S. Customary System ที่เห็นได้บ่อย ๆ ทั้งสินค้าในไทยและต่างประเทศ
อยากสร้างแบรนด์เครื่องสำอางแต่ไม่อยากปวดหัวเรื่องฉลาก ให้ TNP ดูแลได้เลย บริการครบ จบ พร้อมขาย ปรึกษาได้เลยยยย