แชร์

R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.19 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน ทดสอบความคงสภาพทางเคมี (Stability Test - Chemical)

อัพเดทล่าสุด: 25 มิ.ย. 2024
2314 ผู้เข้าชม

     สูตรตำรับที่มีความคงสภาพหรือความคงตัวทางเคมีจะทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางคงคุณภาพตลอดอายุการใช้งาน หากเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดการสลายตัวทางเคมี จะส่งผลต่อทั้งลักษณะทางกายภาพและความคงตัวทางเคมีของผลิตภัณฑ์ อาจส่งผลทำให้ผู้ใช้เกิดความไม่เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ และสูญเสียความเชื่อมั่นในมาตรฐานและคุณภาพในการผลิตได้

     ความคงสภาพทางเคมี หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกิดการสลายตัวทางเคมีขององค์ประกอบทุกชนิดในตำรับ ได้แก่ สารออกฤทธิ์สำคัญ สารกันเสีย รวมถึงสารช่วยอื่น ๆ เช่น สารลดแรงตึงผิว สารประสานน้ำมันกับน้ำ สารแอนตี้ออกซิแดนท์ เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปนาน ทำการตรวจหาสารออกฤทธิ์สำคัญจะต้องคงมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ ไม่เสื่อมสลายหมดไป เพื่อให้เป็นไปตามฉลากเครื่องสำอาง

ซึ่งกลไกการสลายตัวทางเคมีมี 3 กลไก

  1. ไฮโดรไลซีส (hydrolysis)
    การเกิดการสลายตัวได้ด้วยน้ำ เกิดจากโมเลกุลของน้ำทำปฏิกิริยากับอนุภาคของสารที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยหมู่ฟังก์ชันของโครงสร้างทางเคมีที่พบการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลสิสได้บ่อย ได้แก่ carboxylic acid, amide, lactone, lactam, imide, carbonate
  2. ออกซิเดชัน (oxidation)
    ปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดจากการที่ระบบสูญเสียอิเล็กตรอน หรือสูญเสียอะตอมของโฮโดรเจน โดยหมู่ฟังก์ชันของโครงสร้างทางเคมีที่พบการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้บ่อย ได้แก่ hydroxyl bonded aromatic ring, conjugated dienes (vitamin A, unsaturated free fatty acid), heterocyclic aromatic rings (pyrimidine), nitroso และ nitrite derivatives, aldehydes (สารหอม)
  3. การเสื่อมสลายด้วยแสง (photolysis)
    ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงในการทำให้สารเกิดการสลายตัว ซึ่งมีสารหลายชนิดที่ไวต่อแสงและส่งผลให้เกิดการสลายตัว เช่น vitamin C, resveratrol, ferulic acid, สี เป็นต้น ผลของการสลายตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น สีจางลง เกิดการตกตะกอน หรือทางเคมี เช่น เกิดสลายสลายตัว การป้องกันการสลายตัว คือ เลือกภาชนะบรรจุที่เหมาะสมในการเก็บรักษา เช่นขวดทึบแสง หรือขวดสีชา

     ในสูตรตำรับเครื่องสำอางมักนำสารออกฤทธิ์สำคัญใส่ในปริมาณที่ใช้แล้วเห็นผล มีการอ้างอิงปริมาณที่ใส่ในฉลาก เพื่อใช้ทำการตลาดดึงดูดความน่าสนใจจากผู้บริโภค แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานก็อาจมีการเสื่อมสลายของตัวสาร จึงได้มีการทดสอบความคงตัวทางเคมีหลังจากผ่านช่วงระยะเวลาสิ้นค้าหมดอายุ ว่าสารออกฤทธิ์สำคัญยังอยู่หรือไม่ โดยทดสอบภายใต้สภาวะต่าง ๆ
     ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ทาบำรุงผิวกำหนดไว้ว่า คุณลักษณะทางเคมีของผลิตภัณฑ์ทาบำรุงผิวซึ่งได้แก่

  1. ความเป็นกรด - ด่าง (ยกเว้นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เป็นน้ำมัน) เกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 3.5 - 7.5
  2. ต้องไม่มีส่วนผสมของสารต่อไปนี้ แต่หากมีปนเปื้อน
  • ตะกั่ว mg/kg ไม่เกิน 20
  • สารหนู (คำนวณเป็น As2O3) mg/kg ไม่เกิน 5
  • ปรอท mg/kg ไม่เกิน 1
  • แบเรียมที่ละลายได้ (soluble barium) ในรูปของเเบเรียมคลอไรด์ % (m/m) ไม่เกิน 0.05

ตัวอย่างการตรวจวิเคราะห์อื่นๆ เช่น

  • ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิก (phenolic) ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น HPLC, UV spectrophotometer
  • ตรวจวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น DPPH, FRAP, lipid peroxidation
  • ตรวจวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อีลาสเทส
  • ตรวจวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนส
  • ตรวจวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส

ตัวอย่างการทดสอบการสลายตัวของสารออกฤทธิ์สำคัญ

     ครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบบัวบก ซึ่งในสารสกัดใบบัวบกจะพบสารสำคัญคือ อะเซียติโคไซด์และกรดอะเซียติค นำครีมใบบัวบกก่อนเข้าสภาวะเร่งและหลังเข้าสภาวะเร่งมาตรวจสอบหาสารสำคัญ ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยโคมาโทรกราฟี จากนั้นดูผลที่ได้จากการวิเคราะห์ว่ายังพบอะเซียติโคไซด์และกรดอะเซียติคอยู่หรือไม่ หากตรวจแล้วพบก็แสดงว่าสารสำคัญในสูตรตำรับนี้จะไม่สลายตัวในสภาวะเร่งที่ใช้ทดสอบ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เมื่อผ่านไปนานตัวสารสำคัญก็ยังคงอยู่นั่นเอง

สภาวะที่ใช้ทดสอบ

     ในการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ทุกครั้งจะต้องมี ตัวควบคุม (control) ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ซึ่งเก็บไว้ในที่มืด ที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการเปลี่ยนแปลงได้น้อย เนื่องจากไม่มีตัวแปร อย่างเช่น แสงที่ทำให้สีเปลี่ยน และอุณหภูมิร้อนหรือเย็นจนเกินไปจนทำให้เกิดการแยกชั้น

การทดสอบความคงตัวทางเคมีจะทำการทดสอบหลายช่วงสภาวะ ได้แก่

  1. สภาวะเร่ง (Accelerated) โดยการใช้อุณหภูมิต่ำสลับสูง ทำได้ 2 ลักษณะ คือ Heating cooling cycle และ Freeze-Thaw cycle การทดสอบนี้อาจทำให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนขนาดอนุภาคในผลิตภัณฑ์ อาจส่งผลต่อความหนืด การแยกชั้น ทำให้สามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพได้
  2. สภาวะปกติแบบระยะสั้น (short term) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 1-3 เดือน แล้วแต่ประเภทของผลิตภัณฑ์
  3. สภาวะปกติแบบระยะยาว (long term) คือ การทดสอบความคงตัวแบบปกติตามอายุการเก็บรักษาจริง ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 1-3 ปี แล้วแต่ประเภทของผลิตภัณฑ์

1. ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ความเป็นกรด-ด่างที่ไม่เหมาะสมกับสูตรตำรับสามารถเร่งอัตราการเสื่อมสลายของสารออกฤทธิ์สำคัญได้ เช่น วิตามินซีสามารถทำงานได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด หากในสูตรปรับให้เป็นด่างมากเกินไป วิตามินซีจะทำงานได้ไม่ดีและเร่งอัตราการเสื่อมสลายได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสมกับสารแต่ละตัว เพื่อป้องกันการสลายของสาร

2. การเกิดสารประกอบเชิงซ้อน (complexation)
การเกิดสารประกอบเชิงซ้อนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย นักวิจัยจะต้องพิจารณาสารแต่ละตัวให้ดี หากสารที่ใช้ร่วมกันในสูตรเกิดปฏิกิริยากันเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ดี ก็จะช่วยลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสและออกซิเดชันได้ ในทางตรงกันข้ามก็อาจส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยสารที่ไม่พึงประสงค์ตัวอื่นได้ เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือทำปฏิกิริยาจนเนื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีได้

3. สารลดแรงตึงผิว (surfactants)
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นชนิดไม่มีประจุ ประจุบวก หรือประจุลบ เมื่อสารกลุ่มนี้เกิดเป็นไมเซลล์ขึ้นมา สารออกฤทธิ์สำคัญที่เติมลงไปจะถูกกักเก็บอยู่ด้านในของไมเซลล์

4. โลหะหนัก (heavy metals)
โลหะหนัก เช่น ทองแดง เหล็ก โคบอลต์และนิกเกิล สามารถเร่งอัตราการเกิดอนุมูลอิสระทำให้เพิ่มอัตราการสลายตัวจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ อย่างไรก็ตามเราสามารถป้องกันได้โดยใช้สารคีเลตซึ่งสามารถเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะหนักทำให้ป้องกันไม่ให้โลหะหนักไปเร่งการเสื่อมสลายของปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ ตัวอย่างของสารคีเลต ได้แก่ ethylenediamine tetracetic acid (EDTA) กรดซิตริกและกรดทาร์ทาริก เป็นต้น

5. ตัวทำละลาย (solvent)
ตัวทำละลายไม่ได้จำกัดแค่น้ำเพียงอย่างเดียว แต่อาจประกอบด้วยตัวทำละลายอินทรีย์อื่น ๆ ที่เข้ากับน้ำได้ เช่น เอทานอลและกลีเซอรอล เป็นต้น ตัวทำละลายบางชนิดก็ไม่ถูกกับสารออกฤทธิ์สำคัญ อาจทำให้สารเสื่อมสภาพได้ 

6. แสง (light)
แสงสามารถเร่งให้เกิดปฏิกิริยาได้ โดยเฉพาะแสงยูวีที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาโฟโตไลสิสได้มากกว่าแสงชนิดอื่น แสงอาจจะไปทำให้อนุภาคของสาร สี และโครงสร้างเปลี่ยนไป ควรเก็บเนื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสารออกฤทธิ์ที่ไวต่อแสงในภาชนะทึบ มีความหนาเพียงพอต่อการป้องกันแสง

7. อุณหภูมิ (temperature)
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกประเภทควรเก็บรักษาในสภาวะอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเร่งอัตราการเสื่อมสลายของสารออกฤทธิ์สำคัญจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทั่วไปแล้วเครื่องสำอางมักจัดเก็บที่อุณหภูมิห้อง (20-25 องศาเซลเชียส) เพื่อให้อายุของเครื่องสำอางอยู่ได้นาน 2 ปี หรือตามที่กำหนด

8. ความชื้น (moisture)
ความชื้น หรือน้ำทำให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันและไฮโดรไลสิสได้ รวมถึงยังทำให้เชื้อจุลชีพเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นจึงควรเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นซึมผ่านเข้าไปสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ได้ง่าย 

9. ก๊าซออกซิเจนในอากาศ (oxygen)
ก๊าซออกซิเจนในอากาศ ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับสารออกฤทธิ์สำคัญบางชนิดได้ อาจป้องกันโดยใช้วิธีการเติมสารต้านออกซิเดชันลงไปในตำรับ เช่น sodium metabisulfite และ butylated hydroxyl toluene เป็นต้น

     การทดสอบความคงสภาพทางเคมีช่วยให้รู้ถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสื่อมสลายทางเคมีมีหลายอย่าง และเมื่อเกิดขึ้นแล้วยังส่งผลกระทบไปถึงลักษณะทางกายภาพของเนื้อผลิตภัณฑ์อีกด้วย นักวิจัยจึงจำเป็นต้องมีความรอบคอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่ TNP มีการทดสอบคุณภาพของสินค้าในทุกกระบวนการ ใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพมากที่สุด

แหล่งข้อมูล
ตำราเคมีเกี่ยวกับยา สภาเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4470 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทาบำรุงผิว


บทความที่เกี่ยวข้อง
Trend 2025 Self Care Practices With Alternative Product เทรนด์ดูแลตัวเองให้ดูดีขึ้นอย่างยั่งยืน
อัปเดตเทรนด์ดูแลตัวเองปี 2025 เพื่อการดูแลตัวเองอย่างยั่งยืน รวมมาให้ครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ Head to Toe ให้คุณหันกลับมารักตัวเองมากกว่าที่เคย
17 ม.ค. 2025
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.29 การโฆษณาเครื่องสำอาง (Cosmetics Advertising) อัปเดทล่าสุดปี พ.ศ.2567
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ขายดีย่อมต้องมีการโฆษณา ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ แต่การที่จะโฆษณาเครื่องสำอางได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการโฆษณาเครื่องสำอาง และปัจจุบันทางกองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้มีการปรับปรุงคู่มือการโฆษณา ฉบับล่าสุดปี พ.ศ.2567
9 ธ.ค. 2024
Complete Guide เริ่มต้นธุรกิจสปา ตั้งแต่คิดคอนเซปจนถึงเปิดร้าน
เรียนรู้ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนทำธุรกิจร้านสปา ตั้งแต่เริ่มต้นคิดคอนเซปต์จนถึงวันเปิดร้านวันแรก เรียนรู้เรื่องการเงิน และการตลาดสู่ความสำเร็จของธุรกิจ
26 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ