แชร์

R&D Talk EP.04 เทคนิคการตั้งตำรับเครื่องสำอาง ตอน รู้จักส่วนประกอบเครื่องสำอาง (Cosmetic Composition)

อัพเดทล่าสุด: 24 มิ.ย. 2024
2124 ผู้เข้าชม

     อีพีนี้เริ่มเข้าสู่เนื้อหาที่มีความเข้มข้นมากขึ้น เครื่องสำอางที่เราใช้อยู่ทุกวันนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร TNP จะมาเล่าให้ฟังอย่างละเอียด! อ้างอิงจากพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ให้ความหมายเครื่องสำอางไว้ว่า "เครื่องสําอาง" หมายความว่า วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกายหรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นต่างๆ สําหรับผิวด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

เครื่องสำอางแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ สารออกฤทธิ์, เนื้อเบส และสารเติมแต่ง แต่ละส่วนมีความสำคัญ ดังนี้

     สารออกฤทธิ์ คือ สารที่ให้ผลลัพธ์ในการบำรุงผิว มีคุณสมบัติแต่งต่างกันไปตามความต้องการ มีกลไกการทำงานเฉพาะแต่ละสาร สารออกฤทธิ์บางตัวสามารถเสริมฤทธิ์กับสารตัวอื่นได้ แต่บางตัวก็ลดประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ ได้เช่นกัน จึงต้องมีการพิจารณาคุณสมบัติสารแต่ละตัวก่อนที่จะเลือกมาทดลอง ตัวอย่างคุณสมบัติสารออกฤทธิ์เช่น

1. ให้ความกระจ่างใส Brightening/ Whitening

คุณสมบัติ

  • ให้ผิวสว่างกระจ่างใสขึ้น
  • สีผิวสม่ำเสมอ
  • ความหมองคล้ำลดลง
  • ลดฝ้า กระ จุดด่างดำที่เกิดขึ้นตามอายุและแสงแดด
  • ลดรอยดำหลังเป็นสิว

ตัวอย่างกลไกการทำงาน

  • ต่อต้านการสร้างเม็ดสี โดยการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase)
  • ยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีผิว (Melanogenesis) ซึ่งช่วยลดปริมาณเม็ดสีผิว (Melanin)
  • ลดการสร้างเมลานินที่เกิดจากไนตริกออกไซด์
  • ลดการสร้างเมลานินที่เกิดจากการกระตุ้นของเอนไซม์ p53
  • ลดการทำงานของเอนไซม์ p70 S6 Kinase จำกัดการลำเลียงเมลานินและการแบ่งตัวของเซลล์เมลาโนไซต์
  • ลดการทำงานของโปรตีน NFkB ลดการอักเสบ

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์

  • วิตามินบี 3 (Niacinamide)
  • วิตามินซีและอนุพันธ์วิตามินซี (Ascorbic Acid & Derivative)
  • กรดทรานเอกซามิก (Tranexamic Acid)
  • แอลฟ่าอาร์บูติน (Alpha Arbutin)
  • แพลงก์ตอน (Plankton)
  • กรดไฮดรอกซี (AHA, BHA, PHA, LHA)
  • ออกซีเรสเวอราทรอล (Oxyresveratrol)
  • กลูต้าไธโอน (Glutathione)
  • กลาบริดิน (Glabridin)
  • กรดอะเซลาอิก (Azelaic Acid)

2. ให้ความชุ่มชื้น Moisturizing

คุณสมบัติ

  • ผิวนุ่มชุ่มชื้น
  • ผิวอิ่มน้ำ
  • ผิวสดชื้น
  • คงความชุ่มชื้นในผิว
  • ผิวไม่แห้งลอกเป็นขุย

ตัวอย่างกลไกการทำงาน

  • เพิ่ม NMF และ Hyaluronan โดยควบคุมการแสดงออกของยีน  Filaggrin และ Hyaluronan Synthase 3
  • เพิ่มระดับการแสดงออกของยีน Loricrin ซึ่งมีผลต่อการทำงานของ Corni­fied Envelope
  • กระตุ้นการสังเคราะห์เซราไมด์โดยเพิ่มระดับการแสดงออกของ Acid Sphingomyelinase
  • จับกับโมเลกุลของน้ำและเข้าสู่เซลล์โดยผ่านช่องทางของ Sodium Potassium Plump ซึ่งน้ำจะทำให้เซลล์เกิดการบวม

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์

  • สารกลุ่มไกลคอล (Butylene Glycol, Propylene Glycol, Pentylene Glycol, Caprylyl Glycol เป็นต้น)
  • น้ำตาล (Saccharide Isomerate, Biosaccharide Gum-1, Biosaccharide Gum-4 เป็นต้น)
  • น้ำมันธรรมชาติ (Jojoba Oil, Squalane, Avocado Oil, Olive Oil, Aloe Vera Oil เป็นต้น)
  • กลีเซอรีนและอนุพันธ์ (Glycerin & Derivative)
  • พีซีเอ (Pyrrolidone Carboxylic Acid: PCA)
  • กรดไฮยาลูรอนิก (Hyaluronic Acid)
  • วิตามินบี5 (DL-Panthenol)
  • เซราไมด์ (Ceramide)
  • บีเทน (Betaine)
  • ยูเรีย (Urea)

3. ชะลอความแก่และริ้วรอย Anti-Aging/Anti-Wrinkle

คุณสมบัติ

  • ผิวดูอ่อนเยาว์
  • ริ้วรอยลดเลือนลง
  • ริ้วรอยร่องลึกตื้นขึ้น
  • ผิวเรียบเนียน
  • ผิวยืดหยุ่น เต่งตึง
  • ผิวดูกระชับ ไม่หย่อนคล้อย

ตัวอย่างกลไกการทำงาน

  • กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์
  • กระตุ้นการสังเคราะห์ Collagen Type I
  • ยับยั้งเอนไซม์ Ceramidase, Sphingomyelinase, Hyaluronidase, Collagenase, Elastase
  • ลดการทำงานของ MMP2 และ MMP3 ที่ทำลาย Collagen II, III, IV, IX, X, และ Elastin
  • จัดระเบียบ Extracellular Matrix ด้วยการสร้าง Lumican ขึ้นใหม่ ซึ่งช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ปรับการผลัดเซลล์ผิว และควบคุมการสังเคราะห์คอลลาเจน

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์

  • วิตามินบี 3 (Niacinamide)
  • วิตามินซีและอนุพันธ์วิตามินซี (Ascorbic Acid & Derivative)
  • อนุพันธ์วิตามินเอ (Retinal, Retinol, Retinyl Ester)
  • วิตามินอี (Tocopherol)
  • อะซิทิลเฮกซะเปปไทด์-8 (Acetyl Hexapeptide-8)
  • กรดแอลฟ่าไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid: ALA)
  • ยูบิควิโนน (Ubiquinone)
  • โซเดียมไฮยาลูรอเนท (Sodium Hyaluronate)
  • อิลาสติน (Elastin)
  • คอลลาเจน (Collagen)

4. ป้องกันสิว Anti-Acne

คุณสมบัติ

  • ลดสิว
  • ลดการอักเสบและรอยแดง
  • ซ่อมแซมหลุมสิว
  • ควบคุมความมัน ลดโอกาสเกิดสิว
  • รูขุมขนดูกระชับ
  • ผิวหน้าเรียบเนียน

ตัวอย่างกลไกการทำงาน

  • ควบคุมกลไกการผลัดเซลล์ผิวด้านบน
  • ลดการหลั่งของ Cytokines ที่จะหลั่งออกมาเมื่อผิวมีการเกิดการอักเสบ
  • ยับยั้งการเกิดสิว โดยการลด Lipid-Peroxidation ที่กระตุ้นให้เกิดสิว
  • เพิ่ม Endothelin เพื่อทำให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อลดการอักเสบและรอยแดง
  • ลดการผลิต Sebum ที่ Sebocytes ช่วยลดการผลิตน้ำมันส่วนเกินของผิว
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของ C.acnes และ S.aureus เพื่อลดการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว
  • ช่วยฟื้นฟู Keratinocytes เพื่อส่งเสริมกระบวนการซ่อมแซมหลุมสิว
  • ลดสารที่สร้างการอักเสบ IL-1a และ PGE2 ลดรอยแดงปลอบประโลมผิวที่เป็นสิว

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์

  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)
  • ทีทรี (Tea Tree)
  • วิลโลว์ (Salix Alba)
  • นมผึ้ง (10-Hydroxydecanoic Acid: 10-HDA)
  • ลิโคชาลโคนเอ (Licochalcone A)
  • เงิน (Silver)
  • โอลิโกเปปไทด์-10 (Oligopeptide-10)
  • ซิงค์ (Zinc)
  • บาคูชิออล (Bakuchiol)
  • คอปเปอร์เปปไทด์ (Copper Peptide)

5. ปลอบประโลมผิว Soothing

คุณสมบัติ

  • ปลอบประโลมผิว
  • ลดการแพ้ ระคายเคือง
  • ลดอาการบวมแดงจากการอักเสบของผิว
  • ผิวแข็งแรงขึ้น

ตัวอย่างกลไกการทำงาน

  • ยับยั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น S.aureus
  • ยับยั้ง Phospholipase A2 และ Cyclooxygenase-2 เพื่อลดการอักเสบและการแพ้
  • ยับยั้งการหลั่งสาร Prostaglandin E2 (PGE2) และ Cytokine จำพวก IL-1, IL-8 และ MCP-1 ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ แสบ แดง เป็นผื่น
  • ยับยั้งเอนไซม์ Hyaluronidase ที่จะไปทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเพื่อป้องกันการอักเสบ
  • ลด Cytokines และ Histamine ในกระบวนการอักเสบจะช่วยลดการแพ้
  • ยับยั้งการรวมตัวกันของ IL-31 และ IL-33 ที่ทำให้ผิวอักเสบและเกิดผื่น
  • ลดอาการแพ้โดยการยับยั้งการหลั่งของ Beta-Hexosaminidase

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์

  • อลันโทอิน (Allantoin)
  • โบรมีเลน (Bromelain)
  • เบต้ากลูแคน (Beta-Glucan)
  • ไบซาโบลอล (Bisabolol)
  • ใบบัวบก (Asiaticoside และ Madecassoside)
  • ชะเอมเทศ (Glycyrrhizin)
  • อนุพันธ์ซาลิไซลิก (Silanediol Salicylate)
  • คาโมมายล์ (Chamomile)
  • สกูลแคบ (Skullcap)
  • ข้าวโอ๊ต (Colloidal Oatmeal)

6. เกราะป้องกันผิว Skin Barrier

คุณสมบัติ

  • เกราะป้องกันผิวแข็งแรง
  • ผิวเรียบเนียน
  • ผิวคงความชุ่มชื้นได้ดีขึ้น
  • สภาพผิวโดยรวมดูดีขึ้น
  • บำรุงผิวได้ง่าย
  • ผิวทนทานต่อมลภาวะและสารเคมี

ตัวอย่างกลไกการทำงาน

  • ยับยั้ง 5-lipoxygenase ลดกระบวนการอักเสบ คงสภาพเกราะป้องกันผิว
    ปกป้องและเพิ่มความแข็งแรงให้เกราะป้องกันผิว
  • เลียนแบบโครงสร้าง Lamellar สร้างเกราะป้องกันผิวใหม่
  • ลดการสูญเสียน้ำในผิว (Transepidermal Water Loss)
  • เพิ่มความหนาของชั้นผิว Stratum Corneum
  • ปรับสมดุลของจุนลินทรีย์บนผิว โดยการลดปริมาณของแบคทีเรีย S.aureus บนผิว เป็นการสร้างให้ผิวแข็งแรงด้วยกลไกการทำงานของผิวตามธรรมชาติ

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์

  • เซราไมด์ (Ceramide)
  • กรดอะมิโน (Amino Acid)
  • กรดไฮยาลูรอนิก (Hyaluronic Acid)
  • สควาเลน (Squalane)
  • อัลฟ่า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (Alpha-Glucan Oligosaccharide)
  • ไฟโตสฟิงโกซีน (Phytosphingosine)
  • โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharides)
  • พรี/โพร/โพส ไบโอติกส์ (Pre/Pro/Post Biotics)
  • แซคคาไรด์ไอโซเมอเรท (Saccharide Isomerate)
  • กรดลิโนเลอิก (Linolenic Acid)

     เนื้อเบสเครื่องสำอางมีความสำคัญมากในการช่วยโอบอุ้มสารออกฤทธิ์และนำพาไปยังชั้นผิว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความคงตัวของสารออกฤทธิ์ เพิ่มประสิทธิภาพในการซึมผ่านชั้นผิวได้ดีขึ้น หรือปลดปล่อยสารออกฤทธิ์ในจุดที่กำหนดได้ แต่ก็มีสารในเนื้อเบสบางตัวที่ก่อให้เกิดการอุดตันหรือการระคายเคืองได้เช่นกัน โดยหลักๆ สารขึ้นเนื้อเบสจะแยกออกเป็นส่วนของผง สารละลายน้ำ และลิพิด

สารละลายน้ำ Aqueous
สารละลายน้ำ คือ สารละลายต่างๆ โดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย มีคุณสมบัติเป็น Humectant ช่วยดึงความชุ่มชื้นเข้าสู่ผิว เหมาะกับทุกสภาพผิว ตัวอย่างสารละลายน้ำ เช่น Glycerin, Butylene Glycol, Propylene Glycol, Propanediol, Glyceryl Glucoside, Betaine เป็นต้น

ลิพิด Lipid
ลิพิด คือ สารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ ให้ความมันเงา นุ่มลื่นแก่ผิว มีคุณสมบัติเป็น Emollient และ Occlusive ป้องกันการสูญเสียน้ำในผิวได้สูง อาจก่อให้เกิดการอุดตันบนผิวได้ ไม่เหมาะกับสภาพผิวมันและผิวเป็นสิว ตัวอย่างลิพิดเช่น

น้ำมัน (Oil) มีลักษณะเป็นของเหลว เช่น Mineral Oil, Jojoba Oil, Avocado Oil, Ester Oil เป็นต้น
ไขมัน (Fat) มีลักษณะกึ่งแข็ง เช่น Lanolin
บัตเตอร์ (Butter) มีลักษณะกึ่งแข็ง หรือลิพิดแข็ง เช่น Shea Butter
แว็กซ์ (Wax) มีลักษณะแข็ง เช่น Carnauba Wax, Microcrystalline Wax, Rice Bran Wax, Candelilla Wax เป็นต้น

ผง Powder
ผง มีลักษณะเป็นอนุภาคที่ละเอียด ให้คุณสมบัติที่หลากหลาย เช่น Talcum & Starch ให้ความลื่นแก่ผิว ดูดซับความชื้น, Silica ดูดซับน้ำมัน เป็นต้น
     นอกจากนี้เพื่อสร้างความหลากหลายจึงมีการผสมเนื้อเบสหลายส่วนเข้าด้วยกัน ออกมาเป็นเครื่องสำอางรูปแบบใหม่ๆ ไม่ซ้ำเดิม เช่น
Lipid + Water = Emulsion เช่น โลชั่น ครีม
Powder + Water = Suspension เช่น แป้งน้ำ
Powder + Lipid = Paste เช่น ยาสีฟัน

สารเติมแต่ง คือ สารที่ใส่เข้าไปปรับปรุงสูตรเครื่องสำอางเพื่อให้เป็นไปตามต้องการ อาจมีความจำเป็นต้องใส่ หรือไม่ต้องใส่ก็ได้ ตัวอย่างสารเติมแต่ง เช่น

  • สารเพิ่มความคงตัวของอิมัลชัน (Emulsifier) ช่วยเพิ่มความคงตัวของอิมัลชันให้เพิ่มมากขึ้น ลดแรงตึงผิวของน้ำให้สารมีความเข้ากันได้ดี เช่น PEG-40 Hydrogenated Castor Oil, Polysorbate 20, Ceteareth-20, Polyglyceryl-2 Triisostearate
  • สารเพิ่มความหนืด (Viscosity Agent) ช่วยปรับเพิ่มความหนืดของเนื้อเบส เช่น Xanthan Gum, Carbomer, Polymer
  • สารกันเสีย (Preservative) ช่วยยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในเครื่องสำอางไม่ให้เจริญเติบโต เช่น Phenoxyethanol, Paraben
  • สารหอม (Fragrance) ช่วยให้เครื่องสำอางมีกลิ่นหอม หรือช่วยกลบกลิ่น เช่น น้ำหอมสังเคราะห์ และน้ำมันหอมระเหย
  • สารจับโลหะ (Chelating Agent) ช่วยจับโลหะที่อยู่ในน้ำ ป้องกันไม่ให้โลหะเกาะติดกับผิวแล้วตกค้างที่ผิวได้ เช่น Disodium EDTA, Tetrasodium EDTA
  • สี (Color) ช่วยแต่งสี มีทั้งสีละลายน้ำและละลายน้ำมัน เช่น Iron Oxide, Titanium Dioxide
  • บีดส์/กลิตเตอร์ (Beads/Glitter) ช่วยเพิ่มลูกเล่นเครื่องสำอางให้มีเอกลักษณ์และน่าสนใจ มีหลากหลายรูปแบบและขนาด

TNP COSMECEUTICAL เราวิจัยและพัฒนาสูตรเครื่องสำอางด้วยประสบการณ์วิจัยมายาวนานกว่า 14 ปี ด้วยทักษะและความสามารถของนักวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันเทรนด์ใหม่ ทันใจลูกค้า สูตรตำรับพิเศษเฉพาะแบรนด์ ไม่ซ้ำใคร ทำการตลาดขายได้โดดเด่นแตกต่างจากแบรนด์อื่นอยากสร้างแบรนด์คิดถึง TNP ปรึกษาฟรี!


บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.29 การโฆษณาเครื่องสำอาง (Cosmetics Advertising) อัปเดทล่าสุดปี พ.ศ.2567
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ขายดีย่อมต้องมีการโฆษณา ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ แต่การที่จะโฆษณาเครื่องสำอางได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการโฆษณาเครื่องสำอาง และปัจจุบันทางกองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้มีการปรับปรุงคู่มือการโฆษณา ฉบับล่าสุดปี พ.ศ.2567
9 ธ.ค. 2024
Complete Guide เริ่มต้นธุรกิจสปา ตั้งแต่คิดคอนเซปจนถึงเปิดร้าน
เรียนรู้ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนทำธุรกิจร้านสปา ตั้งแต่เริ่มต้นคิดคอนเซปต์จนถึงวันเปิดร้านวันแรก เรียนรู้เรื่องการเงิน และการตลาดสู่ความสำเร็จของธุรกิจ
26 พ.ย. 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.28 ข้อควรรู้! สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอาง
สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางมีอะไรบ้าง? ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อหรือเริ่มต้นสร้างแบรนด์ ใน EP.28 นี้ TNP ได้สรุปสารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางประเภทต่างๆ มาให้แบบเข้าใจง่าย
9 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ