แชร์

R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.01 กว่าจะมาเป็นสารสกัดในเครื่องสำอาง (หลักการเลือกวัตถุดิบ Raw Material Selecting)

อัพเดทล่าสุด: 24 มิ.ย. 2024
812 ผู้เข้าชม


     การเลือกวัตถุดิบหรือสารผลิตเครื่องสำอางสิ่งที่สำคัญอย่างมากคือ ราคา ปริมาณการสั่งซื้อขึ้นต่ำ ระยะเวลาในการรอคอยวัตถุดิบ เอกสารรับรองวัตถุดิบ ในการเลือกนักวิจัยต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาต่ำ

1. ราคา (Price)

     วัตถุดิบราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละสาร และราคามีความไม่แน่นอน ราคาจะคงที่ได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หากราคาสารมีการปรับเปลี่ยนขึ้นไปมากก็จะทำให้ต้นทุนในการผลิตเครื่องสำอางเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ทำให้ราคาส่วนผสมเปลี่ยนไป เช่น

     วัตถุดิบที่นำมาสกัด พืชบางชนิดจะเก็บเกี่ยวได้บางฤดูเท่านั้น หรือให้ผลผลิตน้อยในฤดูที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูก จึงทำให้สารสกัดที่ได้ขาดตลาดในบางช่วง โรงงานผลิตเครื่องสำอางเมื่อจำเป็นต้องใช้สารสกัดนั้นจึงจำเป็นต้องหาแหล่งสำรอง ซึ่งแหล่งสำรองบางที่ก็มีราคาขายที่แพงกว่า

     น้ำมันโลก เมื่อราคาน้ำมันโลกพุ่ง ก็ส่งผลกระทบต่อการขนส่งที่ต้องใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ค่าขนส่งสารก็จะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงต้นทุนในการเก็บเกี่ยวและผลิตสารสกัดก็เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสารสกัดต่อกิโลกรัมเพิ่มมากขึ้น

     ปาล์ม วัตถุดิบหลายตัวที่สังเคราะห์มาจากปาล์ม เมื่อปาล์มมีการปรับขึ้นราคา สารตัวอื่นๆ ก็จะขึ้นราคาตามไปด้วย เช่น กลีเซอรีน

2. ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ (Minimum Order Quantity)

     Minimum Order Quantity (MOQ) คือ ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำ ซึ่ง MOQ เป็นอีกปัจจัยที่มีผลอย่างมากในการเลือก เมื่อคำนวณปริมาณสารที่ใช้ในการผลิตทั้งหมดได้แล้ว ก็จะทราบว่าต้องซื้อสารสกัดปริมาณเท่าไร เช่น ต้องการใช้สารสกัดปริมาณ 1 กิโลกรัม แต่ทางผู้ขายกำหนดปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำที่ 5 กิโลกรัม หากเลือกสั่งซื้อไป จะทำให้ทางโรงงานผลิตต้องเก็บสต๊อกสารสกัดไว้ถึง 4 กิโลกรัม หากไม่มีการผลิตสินค้าเดิมซ้ำ อาจจะทำให้สารสกัดตัวนี้หมดอายุการใช้งานจนกลายเป็นของเสียได้ ดังนั้นนักวิจัยจะต้องพิจารณาปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำเป็นอันดับแรก เพื่อให้พอดีกับจำนวนที่จะผลิตและไม่เกิดของเสียในอนาคต

3. ระยะเวลา (Lead Time)

     ระยะเวลาในการรอคอยสารก็นับเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากการผลิตสินค้าแต่ละครั้งฝ่ายวางแผนการผลิตจะกำหนดเวลาทุกขั้นตอนรวมไปถึงเวลาที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า หากสารบางตัวใช้เวลาในการสกัดและขนส่งนาน จะก่อให้เกิดการเสียโอกาสในการขายสินค้าของลูกค้า หรือหากสินค้าขายหมดก็จะทำให้สินค้านี้ขาดตลาดเป็นระยะเวลานาน ระยะเวลาในการจัดส่งสารจึงเป็นอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณา

4. เอกสาร (Document)

     วัตถุดิบที่ใช้ผลิตเครื่องสำอางต้องมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและมีเอกสารรับรอง เช่น เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet: MSDS), เอกสารรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Certificate of Analysis: COA), เอกสารคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ (Product Specification) เป็นต้น เพื่อให้ทางโรงงานผลิตเครื่องสำอางมีเอกสารเก็บไว้ตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง

Note: R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.02 เอกสารเกี่ยวกับวัตถุดิบ (Raw Material Documentation)


     วัตถุดิบตัวอย่างที่ได้มาจากผู้ผลิต ต้องทำการทดสอบคุณภาพทุกครั้ง หากได้มาจากหลายแหล่งก็จะต้องเปรียบเทียบ แล้วเลือกอันที่มีประสิทธิภาพสูงออกมาใช้งานจริง การทดสอบขึ้นอยู่กับประเภทของสารและการนำไปใช้ ต่างสารก็ต่างการทดสอบ อย่างเช่น

     กลุ่มสารขึ้นเนื้อ เช่น Carbopol, Xanthan Gum, Cellulose Gum, Polymer ดูความใสของเนื้อ ลักษณะความหนืดที่ได้ ค่า pH ที่ทนได้ กลิ่น สัมผัสเมื่อทาลงบนผิว เป็นต้น

     กลุ่มสารกันเสีย เช่น Chlorphenesin, Sodium Benzoate, Phenoxyethanol, Ethylhexylglycerin ดูความเข้ากันกับสารอื่นๆ ค่า pH กลิ่น สี ทดสอบ Challenge Test เป็นต้น

     กลุ่มสารออกฤทธิ์ ทดสอบประสิทธิภาพที่เห็นผลจริง ดูความเข้ากันกับสารอื่นๆ ค่า pH กลิ่น สี สัมผัสเมื่อทาลงบนผิว ความระคายเคือง เป็นต้น

     กลุ่มสารทำความสะอาด ทดสอบประสิทธิภาพการทำความสะอาด ขนาดฟอง กลิ่น ค่า pH ความระคายเคือง เป็นต้น


1. คุณภาพวัตถุดิบต้องได้ตามที่ต้องการ

2. ต้องมีเอกสารสำคัญ เช่น MSDS, Specification, COA

3. ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ เลือกให้เหมาะสมกับการผลิตสินค้า

4. เลือกราคาที่ต่ำที่สุด

5. เลือกระยะเวลาที่จะได้รับวัตถุดิบเร็วที่สุด หรืออยู่ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ตามแผนการผลิต


เราวิจัยและพัฒนาสูตรเครื่องสำอางด้วยประสบการณ์วิจัยมายาวนานกว่า 14 ปี ค้นหาวัตถุดิบที่มีนวัตกรรมใหม่เข้ามาร่วมวิจัย ทั้งนวัตกรรมเนื้อเบส ให้สูตรที่มีเนื้อสัมผัสแตกต่างจากเดิม รวมถึงนวัตกรรมสารออกฤทธิ์ ให้ประสิทธิภาพในการบำรุงผิวมากกว่าที่เคย เห็นผลจริง จึงสร้างจุดขายทำการตลาด ตอบโจทย์ปัญหาของผู้บริโภคให้พึงพอใจมากที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.29 การโฆษณาเครื่องสำอาง (Cosmetics Advertising) อัปเดทล่าสุดปี พ.ศ.2567
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ขายดีย่อมต้องมีการโฆษณา ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ แต่การที่จะโฆษณาเครื่องสำอางได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการโฆษณาเครื่องสำอาง และปัจจุบันทางกองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้มีการปรับปรุงคู่มือการโฆษณา ฉบับล่าสุดปี พ.ศ.2567
9 ธ.ค. 2024
Complete Guide เริ่มต้นธุรกิจสปา ตั้งแต่คิดคอนเซปจนถึงเปิดร้าน
เรียนรู้ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนทำธุรกิจร้านสปา ตั้งแต่เริ่มต้นคิดคอนเซปต์จนถึงวันเปิดร้านวันแรก เรียนรู้เรื่องการเงิน และการตลาดสู่ความสำเร็จของธุรกิจ
26 พ.ย. 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.28 ข้อควรรู้! สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอาง
สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางมีอะไรบ้าง? ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อหรือเริ่มต้นสร้างแบรนด์ ใน EP.28 นี้ TNP ได้สรุปสารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางประเภทต่างๆ มาให้แบบเข้าใจง่าย
9 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ