แชร์

ส่งออกยุโรป เคลม Free-from อย่างไรให้ถูกกฎหมาย

อัพเดทล่าสุด: 21 มิ.ย. 2024
473 ผู้เข้าชม

เครื่องสำอางเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย และสหภาพยุโรปมีการออกกฎระเบียบควบคุมอย่างเข้มงวดเพราะสินค้าในหมวดนี้มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นผู้ส่งออกไทยที่ต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์มายังสหภาพยุโรป จะต้องศึกษากฎระเบียบในการผลิตสินค้าให้ดี

ทาง TNP COSMECEUTICAL ได้รวบรวมข้อมูลการเคลม 'Free-from ฉลากเครื่องสำอาง' เพื่อให้คุณส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 

Free-from หมายถึง 'ปราศจาก' และยังมีความหมายเหมือนกับ 'ไม่มี' และ '0%'

 

ในยุโรป มีหลักเกณฑ์ 6 อย่าง ดังนี้ Legal Compliance, Truthfulness, Evidential Support, Honesty, Fairness, Informed Decision-Making 

ใน EU ไม่อนุญาตให้เคลมข้อความ ปราศจากส่วนผสมที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ตัวอย่าง: free from corticosteroids (สเตียรอยด์) หรือ ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีส่วนผสมของ hydroquinone (ไฮโดรควิโนน) เนื่องจาก corticosteroids และ hydroquinone เป็นสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอางอยู่แล้ว จึงไม่ควรเคลมสารที่ถูกแบนอยู่แล้วตามกฎหมายเพื่อผลประโยชน์

*Note: สามารถเข้าไปตรวจสอบสารที่ถูกแบนได้ที่ ANNEX II LIST OF SUBSTANCES PROHIBITED IN COSMETIC PRODUCTS
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX:02009R1223-20190813

ใน EU ไม่อนุญาตการเคลมให้มีข้อมูลที่เป็นเท็จหรือไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง
การเคลมเครื่องสำอางจะต้องมีความจริงใจ ไม่หลอกลวงผู้บริโภค และสรรพคุณที่เคลมจะต้องใช้แล้วเห็นผลจริง

ตัวอย่างข้อความไม่ควรใช้:

1. แชมพูนี้ไม่มีซัลเฟต (sulfate-free) จะไม่สามารถเคลมได้เมื่อแชมพูมีส่วนผสมที่เป็นกลุ่มซัลเฟต เช่น sodium laureth sulfate

2. เซรั่มนี้ปราศจากส่วนผสมของสารกันเสีย (presevative-free) อนุญาตให้เคลมได้ก็ต่อเมื่อไม่มีส่วนผสมของสารกลุ่มนั้นอยู่จริง หากในเซรั่มมีสารที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวพร้อมยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก็เคลม presevative-free ไม่ได้ เพราะมีสารที่ทำหน้าที่ช่วยยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์อยู่ถึงแม้หน้าที่หลักจะให้ความชุ่มชื้นผิวก็ตาม

3. ครีมนี้ให้ความชุ่มชื้น 48 ชั่วโมง ครีมตัวนี้จำเป็นต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้จริง เช่น หลักฐานที่ส่งทดสอบความชุ่มชื้นในผิวจากห้องทดลอง ไม่สามารถเคลมลอยๆ ได้

4. เคลมชื่อสารจะต้องมีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางนั้นจริง เช่น เครื่องสำอางที่เคลมว่ามีน้ำผึ้ง ต้องมีน้ำผึ้งจริงๆ จะมีเพียงรสน้ำผึ้งหรือกลิ่นน้ำผึ้งไม่ได้

5. หากมีการเคลมสรรพคุณของสาร เช่น เซรั่มนี้ใช้แล้วชุ่มชื้นเพราะมีกรดไฮยาลูโรนิกที่ให้ความชุ่มชื้นสูง ตัวเซรั่มเองจะต้องให้ความชุ่มชื้นได้จริง จะต้องมีเปอร์เซ็นต์สารดังกล่าวเป็นส่วนผสมในปริมาณที่เพียงพอแก่การเคลม และไฮยาที่เคลมต้องมีความเข้มข้นที่พิสูจน์แล้วว่าให้ความชุ่มชื้นได้จริงเช่นกัน

6. การสื่อสารทางการตลาดไม่ควรใช้ความคิดเห็นจากผู้ใช้มาเป็นเครื่องยืนยันว่าเครื่องสำอางได้รับการพิสูจน์แล้ว เช่น มีผู้ใช้แสดงความคิดเห็นว่า โลชั่นนี้ใช้แล้วผิวกระจ่างใสตั้งแต่ 7 วันแรกที่ใช้ ไม่สามารถนำมาเคลมได้ ยกเว้น ความคิดเห็นนั้นจะสะท้อนมาจากผลทดสอบที่ส่งไปทดลองแล้วผลออกมาว่าโลชั่นนี้ช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้นใน 7 วัน

การเคลมไม่ว่าจะเคลมโดยตรงชัดเจนหรือเคลมแบบอ้อมๆ ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ทางเครื่องสำอางเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อความที่ใช้ในการเคลม เช่น หลักฐานวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ผลของสีผิวที่สม่ำเสมอ การทดลอง in-vitro, in-vivo

การเคลมสรรพคุณของสารในเครื่องสำอางจะต้องมีหลักฐาน เช่น ความเข้มข้นของส่วนผสมที่ให้ประสิทธิภาพนั้นๆ 

ตัวอย่างข้อความไม่ควรใช้: 'น้ำหอมนี้ทำให้คุณเป็นนางฟ้า' นั้นเกินความจริง เนื่องจากไม่มีใครคิดว่าเมื่อใช้น้ำหอมนี้แล้วจะเป็นนางฟ้า 

การเคลมไม่ควรเกินความจริง 'Free-from' ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางประเภทไม่สามารถเคลมได้ 

ตัวอย่างข้อความไม่ควรใช้: น้ำหอมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ปริมาณมากจนไม่ต้องใส่สารกันเสียเพิ่มในสูตร ไม่สามารถเคลม ปราศจากสารกันเสีย/preservative-free  เพราะแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอยู่แล้ว รวมถึงส่วนผสมอื่นๆ ที่มีผลป้องกันเชื้อจุลินทรีย์แต่ไม่ได้อยู่ในหมวดสารกันเสีย Annex V

ข้อความ 'ปราศจากน้ำหอม' ไม่อนุญาตให้เคลมหากมีส่วนผสมที่ทำหน้าที่สร้างกลิ่นในสูตร

ข้อความ 'ผู้ใช้หนึ่งล้านคนชอบผลิตภัณฑ์นี้' ไม่อนุญาตหากอิงจากยอดขายหนึ่งล้านชิ้น

ภาพ Before/After ที่มาจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โปรแกรมตกแต่งภาพ ไม่อนุญาตหากทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องสำอาง

การใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ควรระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น หากประสิทธิภาพของแชมพูที่อ้างมาจากการใช้แชมพูนั้นร่วมกับครีมนวดผม ควรระบุว่าใช้กับครีมนวดผม 

การเครมไม่ควรใช้ Free-from ในเชิงลบด้านความปลอดภัย

การเคลมเครื่องสำอางควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่สร้างความสับสน และไม่ควรทำให้คู่แข่งเสื่อมเสีย ไม่ควรด้อยค่าส่วนผสมที่ยังมีการใช้อย่างถูกกฎหมาย

ตัวอย่างข้อความที่ไม่ควรใช้:
- ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีส่วนผสมของสารพาราเบนซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าระคายเคือง' จากข้อความนี้มีการด้อยค่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารพาราเบนในเชิงลบ และทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าพาราเบนเป็นอันตรายก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ 
- มีสารก่อภูมิแพ้ต่ำเพราะไม่ใส่สารกันเสีย' นั้นไม่เป็นธรรม เพราะตีความได้ว่าสารกันเสียทั้งหมดเป็นสารก่อภูมิแพ้

*free from parabens ไม่ควรเคลม เพราะจะสื่อความหมายได้ว่าพาราเบนทั้งหมดอันตรายต่อผู้ใช้ แต่ความจริง  พาราเบนบางตัวปลอดภัยเมื่อใช้ตามข้อบังคับ และพาราเบนตัวที่ถูกแบน เช่น Isopropylparaben ก็เป็นสารต้องห้ามอยู่แล้ว
*phenoxyethanol และ triclosan เป็นสารกันเสียที่ปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่ถูกต้อง ทาง eu จึงไม่อนุญาตให้เคลม
*free-from phenoxyethanol/ free-from triclosan เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ว่าสารทั้ง 2 ตัวนี้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ 

การเคลมควรมีความชัดเจน และผู้บริโภคมีความเข้าใจ Free-from ที่ใช้เคลมในเครื่องสำอางกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 

หากผลิตภัณฑ์มุ่งเป้าไปที่ผู้เชี่ยวชาญก็สามารถใช้ศัพท์ทางเทคนิคได้ และการสื่อสารทางการตลาดควรมีความชัดเจน แม่นยำ ตรงประเด็น และเข้าใจได้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 

ตัวอย่างข้อความไม่ควรใช้:

'ปราศจากแอลกอฮอล์' ในน้ำยาบ้วนปากที่เป็น ผลิตภัณฑ์สำหรับครอบครัว
'ปราศจากส่วนผสมจากสัตว์' ในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ทานมังสวิรัติหรือ vegan
'Free from acetone (อะซีโตน)' ในยาทาเล็บสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงกลิ่น

ข้อมูลจากอ้างอิงจาก:
European Commission - Technical document on cosmetic claims
CTPA Help Note on Free From Claims Understanding the EC Technical Document on Cosmetic Claims


จากข้อมูลที่ TNP COSMECEUTICAL รวบรวมมาหวังว่าจะช่วยคุณมีไอเดียในการทำฉลากส่งออกได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายสหภาพยุโรป และเพียงให้เราดูแลแบรนด์ของคุณ ทางเรามีผู้เชี่ยวชาญในการส่งออกเครื่องสำอาง ตรวจสอบความถูกต้องทุกขั้นตอน ให้คุณหายห่วงเพียงแค่ให้เราดูแล


บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.29 การโฆษณาเครื่องสำอาง (Cosmetics Advertising) อัปเดทล่าสุดปี พ.ศ.2567
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ขายดีย่อมต้องมีการโฆษณา ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ แต่การที่จะโฆษณาเครื่องสำอางได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการโฆษณาเครื่องสำอาง และปัจจุบันทางกองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้มีการปรับปรุงคู่มือการโฆษณา ฉบับล่าสุดปี พ.ศ.2567
9 ธ.ค. 2024
Complete Guide เริ่มต้นธุรกิจสปา ตั้งแต่คิดคอนเซปจนถึงเปิดร้าน
เรียนรู้ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนทำธุรกิจร้านสปา ตั้งแต่เริ่มต้นคิดคอนเซปต์จนถึงวันเปิดร้านวันแรก เรียนรู้เรื่องการเงิน และการตลาดสู่ความสำเร็จของธุรกิจ
26 พ.ย. 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.28 ข้อควรรู้! สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอาง
สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางมีอะไรบ้าง? ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อหรือเริ่มต้นสร้างแบรนด์ ใน EP.28 นี้ TNP ได้สรุปสารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางประเภทต่างๆ มาให้แบบเข้าใจง่าย
9 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ