แชร์

Whitening & Brightening พัฒนาสูตรอย่างไร ให้ขายดี

อัพเดทล่าสุด: 20 มิ.ย. 2024
1129 ผู้เข้าชม

     ค่านิยมเรื่องสีผิวที่ว่า มีผิวขาวแล้วดูดี อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกวันนี้ ดารา เน็ตไอดอล เกาหลี เข้ามามีอิทธิพลมากในชีวิตของคนรุ่นใหม่ ยิ่งสร้างกระแสค่านิยมสีผิวให้สังคม ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ใครๆก็อยากมีผิวขาวกระจ่างใสเปล่งปลั่ง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งต่างๆ แม้ไม่ได้เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุดในท้องตลาด แต่ก็กระแสดีมาตลอด ไม่เคยตก

     โดยผลสำรวจของบริษัทวิจัยการตลาดระดับโลกอย่าง Mintel ระบุว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ Whitening และ Brightening มีสัดส่วนรวมกันติด 1 ใน 3 อันดับสินค้าความงามที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ซึ่งก่อนที่จะทำผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่ง เราต้องเข้าใจกลไกการทำงานของเม็ดสีผิวในร่างกายให้ดีเสียก่อน จะได้รู้ว่าควรพัฒนาสูตรอย่างไร ถึงจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และเห็นผลลัพธ์อย่างปลอดภัย

รู้จัก Melanin ต้นเหตุของความหมองคล้ำ
     เมลานิน (Melanin) หรือ เม็ดสีผิว สร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte) โดยจะบรรจุอยู่ในแคปซูลที่เรียกว่า เมลาโนโซม (Melanosome) เมื่อสร้างเสร็จจะส่งผ่านไปยังเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า หรือ Keratinocytes ทำให้เกิดสีผิวขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

     1. ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็นเม็ดสีที่มีสีดำ หรือสีน้ำตาล ซึ่งคนผิวสีเข้มจะมีเม็ดสีนี้ปริมาณมากกว่าคนผิวขาว
     2. ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) เป็นเม็ดสีโทนส้มแดง หรือสีเหลือง ซึ่งจะพบในคนผิวขาวปริมาณมากกว่าคนผิวเข้ม


(แผนภูมิแสดงกระบวนการสังเคราะห์เมลานิน)


     โดยปกติแล้ว ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ โดยมีลักษณะผิวเหลือหรือน้ำตาล ตามปกติร่างกายจะกระตุ้นการสร้างเม็ดสียูเมลานินและฟีโอเมลานินในจำนวนพอๆกัน แต่ทั้งนี้ด้วยลักษณะทางที่ตั้งที่มีแดดจัดตลอดปี ทำให้ร่างกายสร้าง เม็ดสียูเมลานิน ขึ้นมามากกว่าปกติเพื่อป้องกันรังสีจากแสงอาทิตย์

     ซึ่งหากเทียบกับเม็ดสีฟีโอเมลานินแล้ว ยูเมลานินสามารถป้องกันแสงแดดได้เทียบเท่าครีมกันแดด SPF10-15 แต่ผลที่ตามมาคือผิวมีความหมองคล้ำมากขึ้น ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติของผิวหนังที่ป้องกันอันตรายจากภายนอก ดังนั้นหากต้องการให้ผิวแลดูกระจ่างใส การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทไวท์เทนนิ่งที่ป้องการการผลิตเม็ดสีเมลานินเกินความจำเป็น จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใสขึ้นได้


ถ้าจะพัฒนาสูตรไวท์เทนนิ่ง จะคุยกับ RD ยังไงให้รู้เรื่อง

1. ลดการสร้างเม็ดสี
จุดเริ่มต้นของการสร้างเม็ดสีเมลานิน เริ่มต้นด้วยกระบวนการทำงานของ เอ็นไซม์ไทรโรซิเนส หากเราสามารถลดการทำงานของเอ็นไซม์ชนิดนี่ได้ ผิวจะดูกระจ่างใสขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเมื่อมีการสร้างเม็ดสีน้อยลด สีผิวจะคืนสู่สภาพเริ่มต้นตามกรรมพันธุ์ของแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น
 สารออกฤทธิ์ที่มีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งเอ็นไซม์ไทรโรซิเนส  ได้แก่ Vitamin C , Arbutin และ Licorice

2. ลดการสร้างเม็ดสียูเมลานิน (สีเข้ม)
ในระหว่างการผลิตเม็ดสีเมลานิน เอ็นไซม์ไทรโรซิเนส จะผลิตสารต้นแบบ ไทรโรซิน และเปลี่ยนไปเป็นสารที่ชื่อว่า โดปาควิโนน จากนั้นขึ้นอยู่กับว่า โดปาควิโนน จะถูกกระตุ้นด้วยเอ็นไซม์ใด เพราะเอ็นไซม์แต่ละชนิดจะส่งผลถึงการผลิต ยูเมลานินหรือฟีโอเมลานินในที่สุด ซึ่งในขั้นตอนนี้ เราสามารถเพิ่มการผลิตเอ็นไซม์ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างฟีโอเมลานินได้มากขึ้น เพื่อส่งผลให้การสร้างยูเมลานิน (สีเข้ม) ลดน้อยลง
 เอนไซม์กลูตาไธโอน (glutathione) และ ซิสทีน (cysteine) จะทำให้เกิดฟีโอเมลานิน ที่มีเม็ดสีโทนส้มแดง หรือสีเหลือง โดยสารไวท์เทนนิ่งที่ช่วยกระตุ้นการ สร้างฟีโอเมลานิน ได้แก่ Glutathione

3. ยับยั้งการขนส่งเม็ดสีเมลานินขึ้นสู่ชั้นผิวหนังกำพร้า
ในความเป็นจริง แม้ว่าเราจะขัดขวางหรือลดการทำงานของกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินเพียงใด อย่างไรแล้วตามธรรมชาติของกลไกร่างการ จะมีการผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาเป็นจำนวนหนึ่งอยู่ดี (ซึ่งน้อยกว่าปกติ) ในขั้นตอนนี้ เราสามารถที่จะลดการขนส่งเม็ดสีเมลานินที่ผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ให้ถูกขนส่งขึ้นไปยังผิวหนังชั้นบนได้
 สารออกฤทธิ์ที่มีคุณสมบัติ ขั้นขวางกระบวนการขนส่งเม็ดสีเมลานินขึ้นสู่ผิวหนังชั้นบน ได้แก่ Niacinamide หรือ Vitamin B3

4. กระบวนการผลัดเซลล์ผิว
นอกจากยับยั้งการเม็ดสีเมลานินในผิว อีกขั้นตอนหนึ่งที่ช่วยทำให้ผิวขาว กระจ่างใส คือ การผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ขจัดเม็ดสีเมลานินที่คล้ำเสียออกจากผิว เพื่อให้การสร้างเซลล์ผิวใหม่ตามกลไกของร่างกาย เป็นผิวที่กระจ่างใส ซึ่งถ้าตามปกติแล้ววงจรการผลัดเซลล์ผิวของคนเรา ใช้เวลา 21-28 วัน แต่ทั้งนี้ เมื่ออายุมากขึ้น หรือเผชิญมลภาวะ อาจทำให้การผลัดเซลล์ผิวของเราช้าลง
 สารออกฤทธิ์ที่มีคุณสมบัติ เสริมการผลัดเซลล์ผิว ได้แก่ Vitamin C , Retinoid , กรดผลไม้ AHA และ BHA

5. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด
เมืองไทย อากาศร้อน แดดแรง ไม่ว่าเราจะบำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์ Whitening ขนาดไหน แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำอย่างยิ่ง คือ การหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด และหมั่นทาครีมกันแดดปกป้องผิวให้เหมาะสมอยู่เสมอ เพราะในแสงแดดมีรังสี UVA UVB และความร้อน ทำให้เกิดฝ้า กระ ผิวหมองคล้ำ รวมทั้งยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดสีเมลานินมากขึ้น

     ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า กลไกการสร้างเม็ดสีผิวในร่างกาย มีหลายขั้นตอน ซึ่งในสินค้ากลุ่มสินค้า Whitening และ Brightening จะเน้นไปทางด้านการทำงานเกี่ยวกับเม็ดสีเมลานิน ซึ่งมีหลายขั้นตอน อีกทั้ง ปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น แสงแดด ความร้อน และมลภาวะ ก็สามารถส่งผลต่อสีผิวได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการพัฒนาสูตรสินค้ากลุ่ม Whitening และ Brightening ที่มีประสิทธิภาพ ทาง R&D เจ้าของสูตรจึงพิจารณานำสารสกัดหรือสารออกฤทธิ์มาใช้มากกว่า 1 ชนิด เพื่อให้คลอบคลุมการสร้างเม็ดสีเมลานินให้มากที่สุด โดยสัดส่วนของสารออกฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาแต่ละขั้นตอน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการมองตลาดไว้อย่างไร เพราะทั้งเรื่องของ เพศ อายุ และ สภาพแวดล้อมของผู้บริโภค ล้วนแต่ตอบสนองผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกัน จึงเป็นโจทย์ที่ R&D ของ TNPC ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

ข้อควรระวัง: ควรหลีกเลี่ยง ผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง ขาวใสในชั่วข้ามคืน เพราะอาจมีสารเคมีอันตรายกลุ่มสารฟอกสีผิว ทำให้ผิวขาวเร็วทันใจ แต่เสี่ยงปัญหาผิวในระยะยาว ทั้งมะเร็งผิวหนัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิดภาวะด่างขาว (Vitiligo) ที่เกิดจากเซลล์เมลาโนไซต์ในร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้ผิวบางจนเห็นเส้นเลือด และเกิดด่างขาวเป็นจุดบนผิว


บทความที่เกี่ยวข้อง
จบปัญหาผิวด่างดำได้ แค่รู้จัก 5 กลไกความหมองคล้ำ!
ปัญหาผิวหมองคล้ำไม่กระจ่างใสที่รบกวนใจใครหลาย ๆ คน ทีเอ็นพีขอบอกเลยว่ากว่าผิวจะขาวใสไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลายกลไกที่สามารถทำให้ผิวเราหมองคล้ำลงได้ ถ้าอยากผิวใสต้องบล็อกให้ครบทุกกลไกการสร้างเม็ดสีเมลานิน ✨
24 เม.ย. 2025
Trend 2025 Self Care Practices With Alternative Product เทรนด์ดูแลตัวเองให้ดูดีขึ้นอย่างยั่งยืน
อัปเดตเทรนด์ดูแลตัวเองปี 2025 เพื่อการดูแลตัวเองอย่างยั่งยืน รวมมาให้ครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ Head to Toe ให้คุณหันกลับมารักตัวเองมากกว่าที่เคย
17 ม.ค. 2025
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.29 การโฆษณาเครื่องสำอาง (Cosmetics Advertising) อัปเดทล่าสุดปี พ.ศ.2567
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ขายดีย่อมต้องมีการโฆษณา ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ แต่การที่จะโฆษณาเครื่องสำอางได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการโฆษณาเครื่องสำอาง และปัจจุบันทางกองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้มีการปรับปรุงคู่มือการโฆษณา ฉบับล่าสุดปี พ.ศ.2567
6 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ