share

Talk GURU เรื่องเครื่องสำอาง : EP 1 ฉลากเครื่องสำอางน่ารู้

Last updated: 20 Jun 2024
810 Views
Talk GURU เรื่องเครื่องสำอาง  : EP 1 ฉลากเครื่องสำอางน่ารู้

     เรื่องไม่ไกลตัว แต่เป็นประเด็นที่หลายคนมักมองข้าม โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มสร้างแบรนด์ คือ ข้อกฎหมายฉลากของเครื่องสำอาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดีไซน์ฉลากสินค้าโดยตรง ทั้งนี้ทาง อย. มีข้อกำหนดว่าต้องแสดงรายละเอียดอย่างไร ถ้าใส่รายละเอียดไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตามที่หลักเกณฑ์ที่กำหนด มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน และปรับสูงสุดถึง 30,000 บาท!!

     นอกจาก ชื่อสินค้า และ เลขที่ใบรับจดแจ้ง บนฉลากเครื่องสำอางที่ถูกต้อง ควรมีรายละเอียดอะไรอีกบ้าง จะได้ไม่ออกแบบผิด เสียเงินซ้ำซ้อน มาดูกันเลยครับ 

ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 และ ประกาศเรื่องฉลากเครื่องสำอาง พ.ศ.2562

ได้กำหนดว่า ฉลากของเครื่องสำอางที่ขายในประเทศต้องใช้ข้อความภาษาไทย มีขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจน และอาจมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ โดยต้องระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ชื่อการค้า และชื่อเครื่องสำอาง ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่นๆ และไม่สื่อถึงสรรพคุณเกินจริง

2. ประเภท หรือ ชนิดของเครื่องสำอาง ระบุไว้ในฉลาก เพื่อแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย, ผลิตภัณฑ์กันแดด

3. วิธีใช้ รายละเอียดวิธีการใช้ ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นๆ ระยะเวลา และปริมาณใช้ที่เหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพผลลัพธ์ดีที่สุด

4. ส่วนผสม ชื่อสารทุกชนิดที่เป็นส่วนผสม ต้องเป็นชื่อตามที่ อย. ประกาศกำหนด และเรียงลำดับปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย ในกรณีที่สารมีความเข้มข้นน้อยกว่า ร้อยละ 1 ไม่ต้องเรียงลำดับ แต่ให้อยู่ถัดจากสารที่มีความเข้มข้น ร้อยละ 1

5. คำเตือน เครื่องสำอางบางประเภทจะต้องแสดงคำเตือนที่ฉลาก เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อความปลอดภัย ตัวอย่างคำเตือน เช่น สําหรับใช้ภายนอกเท่านั้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา

6. สถานที่ผลิต ต้องระบุชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางผลิตในประเทศ / ชื่อ ที่ตั้งของผู้นำเข้า และ ชื่อผู้ผลิต ประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งสามารถติดตามและตรวจสอบได้

 

7.เลขที่ใบรับแจ้ง 


     สัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นได้ผ่านการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เรียบร้อยแล้ว โดยใช้ตัวอักษร Reg.No หรือ เลขที่ใบจดแจ้ง ตามด้วยตัวเลข

(ภาพประกอบหัวข้อ 8, 9, 10)

8. เลขที่แสดงครั้งผลิต นิยมใช้คำย่อเป็น Lot No., Cont.No., Batch No. หรือ L , C , L/C , B/C แล้วตามด้วยเลขแสดงครั้งที่ผลิต เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ในการผลิต เช่น Lot 2009017/01

9. เดือนปีที่ผลิต ใช้อักษร MFG หรือ MFD ย่อมาจาก Manufacturing date / Manufactured Date ตามด้วยเลขเดือน ปี ที่ผลิต หรือ ปี เดือน ที่ผลิต เช่น MFD 03/21

10. เดือนปีที่หมดอายุ ข้อกฎหมายกำหนดให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน ต้องระบุวันหมดอายุในฉลาก โดยใช้อักษรย่อ EXP หรือ EXD ย่อมาจาก Expiry Date / Expiration Date ตามด้วยเลขเดือนปีที่หมดอายุ หรือ ปี เดือน ที่หมดอายุ เช่น EXP 03/23

11.ปริมาณสุทธิ เพื่อบอกปริมาณของตัวสินค้า โดยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำหน่ายในประเทศไทย มีทั้งที่ใช้หน่วยวัดเป็น กรัม (g.)  และ มิลลิลิตร (ml.)

 

12. ข้อความจำเป็นอื่นๆ (ถ้ามี)

สัญลักษณ์ PAO (Period After Opening) หมายถึง อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์หลังจากเปิดใช้ครั้งแรก โดยจะระบุเป็นจำนวนเดือน และมีตัวเลขกำกับไว้ ตามด้วย M (month) ซึ่ง PAO จะแตกต่างจาก Expire Date ที่เป็นวันหมดอายุของเครื่องสำอางที่ยังไม่เคยเปิดใช้

ที่มาภาพ unblast.com

     จะเห็นว่า รายละเอียดที่อยู่บนฉลากเครื่องสำอาง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นโรงงานรับผลิตครีมชั้นนำ จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและตรวจสอบข้อมูลฉลากสินค้า ก่อนยื่นจดแจ้ง อย. เพื่อให้ฉลากมีความถูกต้อง ครบถ้วน ตามข้อกฎหมายที่ทาง อย. กำหนด ทำให้ไม่ต้องเสียเวลายื่นจดแจ้ง แก้ไขหลายรอบ เหมือนอย่างที่เจ้าของแบรนด์หลายๆคนเคยเจอ

ที่มาภาพ agoda.com

เกร็ดความรู้ ฉลากเครื่องสำอาง

  • ฉลากของเครื่องสำอางที่ขายในประเทศต้องใช้ข้อความภาษาไทย และมีขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจน อาจมีข้อความอื่นหรือมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ ยกเว้นชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง อาจใช้ภาษาไทย หรือเขียนภาษาไทยทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือใช้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    (ในกรณีที่มีการใช้สารอนุภาค nano เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ให้ระบุข้อความ “nano” ข้างท้ายชื่อสาร)
  • ในกรณีของเครื่องสําอางที่มีการควบคุมฉลากที่มีภาชนะบรรจุขนาดเล็ก และมีพื้นที่ ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร อย่างน้อยต้องแสดง ชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต  เดือนปีที่ผลิต เดือนปีที่หมดอายุ และ  เลขที่ใบรับจดแจ้ง ส่วนรายละเอียดอื่นๆให้แสดงไว้ที่ใบแทรก หรือเอกสารที่ใช้ประกอบเครื่องสําอาง
  • ไม่แสดงถึงชื่อเครื่องสำอาง ส่วนประกอบของเครื่องสำอาง อัตราส่วนของเครื่องสำอาง ปริมาณของเครื่องสำอาง หรือ แสดงถึงสรรพคุณของเครื่องสำอางอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ หรือ เข้าใจผิดในสาระสำคัญ
  • ไม่ทำให้เข้าใจว่า มีวัตถุตามข้อความ ชื่อ รูป รูปภาพ ผสมอยู่ในเครื่องสำอางโดยที่ไม่มีวัตถุนั้นผสมอยู่ หรือ มีส่วนผสมอยู่ในปริมาณ ที่ไม่อาจแสดงสรรพคุณตามข้อความที่กล่าวอ้าง
  • ไม่พ้องเสียง พ้องรูป กับคำหรือข้อความที่สื่อถึงคุณประโยชน์ คุณภาพ สรรพคุณ อันเป็นเท็จ เกินจริง
  • ไม่ขัดกับวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงามของไทย หรือส่อไปในทางทำลายคุณค่าของภาษาไทย

 

ปรึกษาการสร้างแบรนด์ เลือก TNP Cosmeceutical ที่เดียวจบ ครบทุกการบริการ
ภายใต้มาตรฐาน GMP TUV NORD จากประเทศเยอรมัน

บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.24 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน การทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation)
การที่จะออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูตรใหม่นั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีการทดสอบมากมาย และหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบทางประสาทสัมผัส เป็นเสมือนการทดลองใช้ก่อนวางขายจริง
6 Aug 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.27 การจดแจ้งชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (FDA Registration)
ชื่อเครื่องสำอางที่แปลกใหม่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ตัวผลิตภัณฑ์ แต่การจะตั้งชื่อได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายให้ถูกต้อง
25 Jun 2024
11 Ingredients ที่เป็นประเด็นกับความยั่งยืน
ด้วยสภาวะโลกที่ร้อนมากขึ้นและทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกอย่างจำกัด ทำให้เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะยืนหยัดเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เปลี่ยนส่วนผสมเครื่องสำอางที่ไม่ยั่งยืนให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้ใช้
25 Jun 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ